ผู้ดูแลระบบ

ผู้ดูแลระบบ

ความเป็นมา

   เดิมเมืองพิษณุโลกเป็นเมืองเก่าสมัยขอมอยู่ห่างจากที่ตั้งเมืองปัจจุบัน ลงไปทางทิศใต้ ประมาณ 5 กิโลเมตร เรียกว่า" เมืองสองแคว "เหตุที่เรียกเช่นนี้ เพราะตั้ง อยู่ระหว่างแม่น้ำสองสาย คือแม่น้ำน่ากับแม่น้ำแควน้อยแต่ปัจจุบันแม่น้ำแควน้อยเปลี่ยน ทางเดิน ห่างออกจากตัวเมืองไปประมาณ 10 กิโลเมตร ที่ตั้งตัวเมืองเก่าในปัจจุบัน คือ บริเวณ วัดจุฬามณี ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ของพิษณุโลกต่อมา เมื่อประมาณพุทธศักราช 1900 สมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา(ลิไท)ได้โปรด ให้ย้ายเมืองสองแคว มาตั้งอยู่ ณ บริเวณตัวเมืองในปัจจุบัน และยังคง เรียกกันติดปากว่า เมืองสองแคว เรื่อยมา

 

สมัยก่อนกรุงสุโขทัย

   ก่อนราชวงศ์พระร่วง ซึ่งมีพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นต้นราชวงศ์ขึ้นครองกรุงสุโขทัย เมื่อปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ราชวงศ์ที่มีอำนาจ ครอบคลุมดินแดนแถบนี้คือ ราชวงศ์ศรีนาว- นำถม พ่อขุนศรีนาวนำถม เสวยราชเมืองเชลียง ตั้งแต่ราว พ.ศ.1762 พระองค์ทรง มีโอรส 2 พระองค์ ได้แก่ พ่อขุนผาเมืองครองเมืองราด และพระยาคำแหงพระรามครองเมืองพิษณุโลก ภายหลังพ่อขุนศรีนาวนำถมสิ้นพระชนม์ ขอมสมาดโขนลำพง เข้ายึด เมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัยไว้ได้ พ่อขุนผาเมืองและ พระสหาย คือพ่อขุนบางกลางหาว ร่วมกัน ปราบปรามจนได้ชัยชนะ พ่อขุนผาเมือง จึงยกเมืองสุโขทัย ให้ขุนบางกลางหาว ตั้งราชวงศ์พระร่วงครองเมืองสุโขทัยและ ได้เฉลิมพระนามเป็น พ่อขุนศรีอินทราทิตย์

 

สมัยกรุงสุโขทัย

   เมืองสองแคว(พิษณุโลก)อยู่ในอำนาจของราชวงศ์ผาเมือง จนกระทั่งในรัชกาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราช จึงได้ยึดเมืองสองแคว ซึ่งเดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณา จักรสุโขทัย ครั้นสมัย พระมหา ธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) ได้เสด็จมาประทับทีเมืองสองแคว พระองค์ท่าน ได้เอาพระทัยใส่ทำนุบำรุงนำความเจริญเป็นอย่างยิ่ง เช่น การสร้าง เหมือง ฝาย สนับสนุนให้มีการขยายพื้นท่เพราะปลูก สร้างทางคมนาคม จากเมืองพิษณุโลก ไปเมืองสุโขทัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ได้มีการสร้าง พระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี พระศรีศาสดา เพื่อประดิษฐานไว้ใน พระวิหารพระศรีรัตนมหาธาตุ

 

พระวิหารพระศรีรัตนมหาธาตุ

   ความเจริญรุ่งเรืองของเมืองพิษณุโลก ในช่วงที่พระเจ้าลิไท เสด็จมาประทับเท่า ที่หลักฐานเหลืออยู่น่าจะชี้ให้เห็นถึงความสำคัญ ของพิษณุโลก ในช่วงนี้โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง การเป็นศูนย์กลาง การติดต่อที่สำคัญของลุ่มน้ำน่านพิษณุโลกในช่วงรัชกาลพระเจ้าศรีสุริยวงศ์ บรมปาล ไม่พบว่า มีบทบาท นอกเหนือราชท่เมืองพิษณุโลก ต่อมาระหว่างพ.ศ.1981-1994 จึงเอาใจออกห่างเป็น กบฏ พาพลเมืองไปร่วมกับพระเจ้าเชียงใหม่ ทางอยุธยาจึงส่งเจ้านายขึ้นมาปกครอง เมืองพิษณุโลกแล้วผนวกเข้าเป็น ส่วนหนึ่งของอณาจักรอยุธยา

 

สมัยกรุงศรีอยุธยา

   พิษณุโลกสมัยอยุธยา มีความสำคัญยิ่งทางด้านการเมือง การปกครองยุทธศาสตร์ เศรษฐกิจ ศาสนาและศิลปวัฒนธรรม พิษณุโลกเป็นราชธานีในรัชสมัยสมเด็จ พระบรม ไตรโลกนาถ ตั้งแต่ พ.ศ.200-2031 รวม 25 ปี นับว่าระยะนี้เป็นยุคทองของ พิษณุโลก

   ในสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ครั้งดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราช ณ เมืองพิษณุโลก ระหว่าง พ.ศ.2112-2133 ได้ทรงปลุกสำนึกให้ชาวพิษณุโลก เป็นนัก กอบกู้เอกราชเพื่อชาติไทย ทรงสถาปนาพิษณุโลกเป็นเมืองเอก เป็นการประสานต่อ ความเจริญรุ่งเรืองจากอดีตมาจนถึงปัจจุบันในด้านเศรษฐกิจเนื่องจากพิษณุโลก ตั้งอยู่บนเส้นทางระหว่างรัฐ ทางเหนือคือ ล้านนาและกรุงศรีอยุธยาทางใต้ ความสัมพันธ์ ระหว่าง รัฐทั้งสองบางครั้ง เป็นไมตรี กันบางครั้งขัดแย้งกันทำสงครามต่อกัน มีผลให้เมืองพิษณุโลกได้รับอิทธิพลทาง วัฒนธรรมประเพณีทั้ง 2 รัฐ โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ พิษณุโลกเป็นเส้นทาง สิ้นค้า ของป่า และผลิตผลทางการเกษตร รวมทั้งเครื่องถ้วย โดยอาศัยการคมนาคม ผ่านลำน้ำ น่านสู่กรุงศรีอยุธยา ซึ่งขณะนั้นเป็นศูนย์กลางของการค้า นานาชาติแห่งหนึ่ง ในภูมิภาค เอเซียตะวันตกเฉียงใต้ ในปัจจุบัน ที่พิษณุโลก มีหลักฐานชัดเจนว่า เป็นแหล่งผลิต เครื่องถ้วยคุณภาพดีซึ่งมีอยู่ทั่วไปบริเวณฝั่งแม่น้ำน่านและแม่น้ำแควน้อย โดยเฉพาะ ที่วัดชีประขาวหาย พบเตาเผาเครื่องถ้วยเป็นจำนวนมาก พร้อมเครื่องถ้วยจำพวกโอ่ง อ่าง ไห ฯลฯ เครื่องถ้วยเหล่านี้ นอกจาก จะใช้ในท้องถิ่น แล้วยังเป็นสินค้าส่งออก ไปขาย ต่างประเทศด้วยวินิจฉัยว่าน่าจะเป็นแหล่งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในสมัย พระบรมไตรโลกนาถ นับว่าเมืองพิษณุโลกมีความ

สำคัญยิ่ง ทางเศรษฐกิจ คือเป็นแหล่งทรัพยากรของกรุงศรีอยุธยา ด้านการปกครอง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่ จัดระเบียบการปกครอง ที่เรียกว่า จตุสดมภ์ ได้แก่ เวียง วัง คลัง นา มีอัครเสนาบดี เป็นผู้ช่วย ในการบริหารงานคือ สมุหกลาโหม สมุหนายกหัวเมืองฝ่ายใต้อยู่ในความ ดูแลของ สมุหกลาโหม และหัวเมืองชายทะเลอยู่ในความดูแลของกรมท่า ด้านศาสนา แม้ว่าเมืองพิษณุโลกจะเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ ในสงคราม ระหว่าง อาณาจักรล้านนา-อยุธยาและพม่า-กรุงศรีอยุธยา มาตลอดแต่การพระศาสนา ก็มิได้ ถูกละเลย ดังปรากฏหลักฐานทาง โบราณวัตถุโบราณสถาน ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า พระพุทธรูป และวัด ปรากฏในปัจจุบันเช่น พระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี พระศรีศาสดา วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร(วัดใหญ่)วัดจุฬามณี วัดอรัญญิก วัดนางพญา วัดราชบูรณะ และวัดเจดีย์ยอดทองเป็นต้น ล้วนเป็น ศิลปวัฒนธรรม สมัยกรุงศรีอยุธยา หรือมิฉะนั้นก็ได้มีการ บูรณะ ปฏิสังขรณ์ของเดิม ที่มีมาครั้ง กรุงสุโขทัย แสดงว่าด้านพระศาสนา ได้มีการบำรุงมาโดยตลอดในรัชการสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างอาคาร วัดจุฬามณีขึ้นในปี พ.ศ.2007 และพระองค์ได้ทรงสละราชสมบัติออกผนวช ณ วัดจุฬามณี อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เมื่อปี พ.ศ.2008 เป็นเวลา 8 เดือน 15 วัน มีข้าราช

บริพาร ตามเสด็จออกบวชถึง 2,348 รูป และในปี พ.ศ.2025 ทรงมีพระบรมราชโองการให้บูรณะ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ และให้มีการสมโภชถึง 15 วัน พร้อมกัน นั้นได้ โปรดให้นักปราชญ์ราชบัญฑิตแต่งมหาชาติคำหลวงจบ 13 กัณฑ์ บริบูรณ์ด้วย ต่อมาในสมัยรัชการสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ทรงสร้างรอยพระบาทจำลอง เมื่อ พ.ศ.2222 และโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานไว้ ณ วัดจุฬามณี พร้อมทั้งจารึกเหตุการณ์ สำคัญทาง ศาสนาในสมัยพระบรมไตรโลกนาถไว้บนแผ่นศิลาด้วย ด้านวรรณกรรมหนังสือมหาชาติคำหลวงได้รับการยกย่องจากวงวรรณกรรม ว่าเป็นวรรณคดีโบราณ ชั้นเยี่ยม นอกจากนี้ยังมี วรรณคดีสำคัญที่ นักปราชญ์เชื่อว่า นิพนธ์ขึ้นใน รัชสมัยสมเด็จ พระบรมไตรโลกนาถ เช่น ลิลิตญวนพ่ายลิลิตพระลอ โคลงทวาทศมาศ และกำศรวลศรีปราชญ์ เป็นต้นเมืองพิษณุโลกในสมัยอยุธยาเคยเป็นทั้งราชธานี เมืองลูกหลวง และเมืองเอกฉะนั้นจึงได้รับความอุปถัมภ์ทะนุบำรุงในทุกๆ ด้านสืบต่อกันมานอกจากบางระยะ เวลาที่พิษณุโลกอยู่มนสภาวะสงคราม โดยเฉพาะสงครามเสียกรุงศรีอยุธยา ทั้ง 2 ครั้ง ความรุ่งเรืองที่เคยปรากฏก็ถดถอยลงบ้างแต่ในที่สุดก็หล่อหลอมเป็นวัฒนธรรม ของชาวไทย มาจนถึงปัจจุบัน

 

สมัยกรุงธนบุรี

   สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเห็นว่าพิษณุโลกเป็นเมือง ยุทธศาสตร์ ที่สำคัญ ควรมีผู้ที่เข้มแข็ง ที่มีความสามารถเป็นเจ้าเมือง จึงทรงแต่งตั้ง เจ้าพระยายมราช (กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท) เป็น "เจ้าพระยา สุรสีห์พิษณุวาธิราช " สำเร็จราชการเมืองพิษณุโลก โดยขึ้น ต่อกรุงธนบุรี เมื่อได้ทรงแต่งตั้ง ผู้ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ จนครบถ้วนแล้ว จึงเสด็จกลับ ไปยังกรุงธนบุรี พ.ศ. 2318 อะแซหวุ่นกี้ แม่ทัพพม่าผู้ชำนาญการรบ ได้วาง แผนยกทัพมาตีหัวเมืองฝ่ายเหนือของไทย ตีได้เมืองตาก เมืองสวรรคโลก บ้านกงธานี และมาพักกองทัพอยู่ที่กรุงสุโขทัย ขณะนั้นเจ้าพระยาจักรี และ เจ้าพระยาสุรสีห์ฯ กำลังยกกองทัพขึ้นไปตีเชียงแสน เมื่อทราบข่าว ข้าศึก จึงรีบยกทัพกับมารับทัพพม่า ที่เมืองพิษณุโลกก่อนที่อะแซหวุ่นกี้ ยกทัพมาตั้งค่ายล้อมเมืองพิษณุโลก กองทัพพม่าพยายามเข้าตีค่ายไทย หลายครั้งแต่เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ ได้ช่วยป้องกันเมือง เป็นสามารถ ทั้งที่ทหารน้อยกว่า แต่ไม่สามารถชนะกันได้ อะแซหวุ่นกี้ ถึงกับกล่าวยกย่องแม่ทัพฝ่ายไทย และขอให้ทั้ง 2 ฝ่ายหยุดรบกัน 1 วัน ทหารทั้งสองฝ่ายรับประทานอาหารร่วมกันด้วย เมื่อแม่ทัพไทย และ แม่ทัพพม่า ยืนม้าเจรจากันในสนามรบ อะแซหวุ่นกี้ก็เห็นรูปลักษณะ ของ เจ้าพระยาจักรี แล้วจึงได้กล่าวสรรเสริญว่า "...ท่านนี้รูปงาม ฝีมือก็เข้มแข็ง อาจสู้รบกับเราผู้เป็น ผู้เฒ่าได้ จงอุตส่าห์รักษาตัวไว้ ภายหน้าจะได้เป็นกษัตริย์."และบอกเจ้าพระยาจักรี ว่า...."จงรักษาเมืองไว้ให้มั่นคงเถิดเราจะตีเอาเมืองพิษณุโลกให้จงได้ใน ครั้งนี้ "

   สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เมื่อทราบข่าวอะแซหวุ่นกี้ ยกกองทัพใหญ่ มาตี หัวเมืองฝ่ายเหนือของไทย พระองค์จึง ยกทัพใหญ่ขึ้นไปช่วยหัวเมืองฝ่ายเหนือทันที ฝ่ายอะแซหวุ่นกี้ ทราบข่าวว่ากองทัพไทยมาตั้งค่าย เพื่อช่วยเหลือเมืองพิษณุโลก จึงแบ่งกำลังพลไปตังมั่นที่วัดจุฬามณีฝั่งตะวนตก อะแซหวุ่นกี้ เห็นว่า ถ้าชักช้า ไม่ทันการณ์จึงสั่งให้ทัพพม่าที่กรุงสุโขทัยไปตีเมืองกำแพงเพชร และกองทัพ เมืองกำแพงเพชร ไปตีเมืองนครสวรรค์ และสั่งให้ กองทัพพม่า อีกกองหนึ่งยก ไปตีกรุงธนบุรี การวางแผนของอะแซหวุ่นกี้ เช่นนี้ เป็นการตัดกำลังฝ่ายไทย ไม่ให้ช่วยเมืองพิษณุโลก และต้องการให้ กองทัพไทยระส่ำระสาย ในที่สุดสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมีพระราชดำริ เห็นว่า ไทยเสียเปรียบ เพราะมีกำลังทหารน้อยกว่า จึงควรถอยทัพกลับไป ตั้งมั่นรับทัพพม่าที่กรุงธนบุรี เจ้าพระยาจักรีเห็นว่าไทยขาดเสบียงอาหาร และใก้ลจะหมดทางสู้ จึงตัดสินใจ พาไพร่พลและประชาชนชายหญิง ทั้งหมดตีหักค่ายพม่า ออกจากเมืองพิษณุโลก ไปทางทิศตะวัออก ได้ สำเร็จพาทัพผ่านบ้านมุง บ้านดงชมพู ข้ามเขาบรรทัด ไปตั้งรวมรี้พลอยู่ที่ เมืองเพชรบูรณ์พม่าล้อมเมืองพิษณุโลก นาน ถึง 4 เดือน เมื่อเข้าเมืองได้ ก็พบแต่เมืองร้าง อะแซหวุ่นกี้จึงสั่งเผาผลาญทำลาย บ้านเมือง พิษณุโลกพินาถจน หมดสิ้น คงเหลือเฉพาะวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเท่านั้น

 

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

   สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้น ตั้งแต่ช่วงพระบาทสมเด็จ พระพุทธ ยอดฟ้าจุฬาโลก จนถึงก่อนปฏิรูปการปกครองในสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ยังคงจัดระเบียบ การปกครองออก เป็นจตุสดมภ์ แต่ในส่วภูมิภาค มีการ แบ่งเขต การปกครองเป็นหัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก และเป็นประเทศราช เมืองพิษณุโลกมีฐานะเป็นเมืองเอก ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ในหัวเมืองฝ่ายเหนือ ของประเทศไทย มีประชากรทั้งสิ้น ประมาณ 15,000 คน ซึ่งมีชาวจีนประมาณ 1,112 คน และมีเมืองต่างๆ อยู่ใน อำนาจการปกครองดูแล หลายหัวเมืองด้วยกัน เช่น เมือง นครไทย ไทยบุรี ศรีภิรมย์ พรหมพิราม ชุมสรสำแดง ชุมแสงสงคราม พิพัฒน์ นครชุม ทศการ นครพามาก เมืองการ เมืองคำ ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบ อาชีพสำคัญ คือ ทำนา ทำไร่ หาของป่า ทำไม้ และการเกณฑ์แรงงานไพร่ พ.ศ. 2409 พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระอุสาหะเสด็จประพาสเมืองเหนืออีกครั้งหนึ่ง โดยเสด็จ ทาง เรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดช และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะ นั้น กำลังทรงผนวช เป็นสามเณร ก็ได้ตามเสด็จมาด้วย เมื่อเสด็จ ถึงเมืองพิษณุโลก ได้ทรง ประทับ และทรงสมโภช พระพุธชินราชอยู่ 2 วัน จึงเสด็จกลับ ต่อมา พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 (เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช)

หน้า 248 จาก 248