มาโนช บุญยัง

มาโนช บุญยัง

วันที่ 10 ตุลาคม 2564 ว่าที่ร้อยตรี อิทธิพล บุบผะศิริ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ได้รับมอบหมายจาก นายมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ให้เข้าร่วมกิจกรรมปั่นจักรยานออกกำลังกาย ซึ่งจัดขึ้นทุกเช้าวันอาทิตย์ นำโดย นายรณชัย จิตรวิเศษ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ชมรมจักรยาน และผู้ที่รักการออกกำลังกายในจังหวัดพิษณุโลก เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 50 คน เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนหันมาออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้น โดยเริ่มออกสตาร์ทจากบริเวณจวนผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ตำบลหัวรอ อำเภอเมืองพิษณุโลก ผ่านตลาดเทศบาลตำบลหัวรอ ไปถึงแยกแสงดาวแล้วเลี้ยวขวาผ่านถนนสายเลี่ยงเมืองพิษณุโลก โดยบรรยากาศสองข้างทางเริ่มมีหมอกบางๆ และอากาศเริ่มเย็นลง ก่อนเลี้ยวซ้ายบริเวณสี่แยกประโดก มุ่งหน้าไปยังปลายทางที่วัดบัวหลวง ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลวัดโบสถ์ อำเภอวัดโบสถ์ โดยมีเจ้าหน้าที่จากเทศบาลตำบลวัดโบสถ์ให้การต้อนรับ พร้อมทั้งนำน้ำดื่มและขนมตาลซึ่งเป็นขนมขึ้นชื่อของอำเภอวัดโบสถ์มาให้ทางคณะได้รับประทาน จากนั้น พระอธิการประเสริฐ อิทฺธิญาโณ เจ้าอาวาสวัดบัวหลวง พาคณะของผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลกเที่ยวชมโบราณสถานต่างๆ ภายในวัด ซึ่งวัดบัวหลวงแห่งนี้เป็นวัดราชมหานิกาย มีเนื้อที่18 ไร่ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2540 โดยที่มาของชื่อวัดบัวหลวงนั้นสมัยก่อนเป็นบึงบัวใหญ่ที่มีบัวตลอด วัดแห่งนี้มีสองแห่งอีกแห่งอยู่ที่ประเทศอเมริกาซึ่งมีชื่อวัดบัวหลวงเหมือนกัน ซึ่งวัดแห่งนี้เป็นวัดสายวิปัสสนากรรมฐานที่มีอุบาสกอุบาสิกาที่แวะเวียนเข้ามาปฏิบัติธรรมไม่ขาดสาย และสามารถรับผู้ปฏิบัติธรรม ได้จำนวนกว่า 130 คน ที่สำคัญวัดแห่งนี้ได้สร้างสังเวนีย์สถานจำลองไว้อย่างครบถ้วน นั้นก็คือ สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพพาน เพื่อให้ชาวพุทธในจังหวัดพิษณุโลก และในจังหวัดใกล้เคียง รวมถึงผู้ที่สนใจได้เข้ามาเยี่ยมชม โดยก่อนที่ทางคณะจะเดินทางกลับเจ้าอาวาสวัดบัวหลวงได้มอบเครื่องพระหลวงปู่ทวดให้แก่ทุกคนในคณะเพื่อความเป็นสิริมงคล ต่อจากนั้นขบวนจักรยานได้ปั่นย้อนกลับมาทางตลาดสดเทศบาลตำบลวัดโบสถ์มุ่งหน้าไปทางตำบลทองแท้ โดยตลอดเส้นทางมีทุ่งนาเขียวขจีสวยงามและอากาศเย็นสบาย จากนั้นมุ่งหน้าเข้าตัวเมืองพิษณุโลกผ่านตำบลมะขามสูง-ตำบลปากโทก ก่อนสิ้นสุดปลายทางที่จวนผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก รวมระยะทางกว่า 50 กิโลเมตร.

วันที่ 9 ตุลาคม 2564 นายมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก พร้อมด้วย นางประนอม ทิวะพันธุ์ ที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ว่าที่ร้อยตรีวีรภัทร จีนด้วง เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก และนายนฤภพ ลิมปะพันธุ์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก เขตอำเภอเมืองพิษณุโลก ร่วมงานกตัญญูกตเวทิตานุสรณ์ และพิธีทําบุญอายุวัฒนมงคล 90 ปี ปูชนียาจารย์ จ่าสิบเอก ดร.ทวี บูรณเขตต์ ณ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี อำเถอเมืองพิษณุโลก โดยมี พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา สมาชิกวุฒิสภาเป็นประธานในพิธี และมีแขกผู้มีเกียรติร่วมงานจำนวนมาก สำหรับ จ่าสิบเอกทวี บูรณเขตต์ เป็นชาวพิษณุโลกโดยกําเนิด เกิดเมื่อวันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2475 เคยรับราชการทหารเป็นเวลา 23 ปี ได้ลาออกและหันมายึดอาชีพเป็นช่างปั้นหล่อพระพุทธรูป โดยเปิดโรงหล่อ "บูรณะไทย (จ่าทวี)” เป็นของตนเอง และดําเนินมากว่า 30 ปี จนถึงทุกวันนี้ ด้วยท่านเป็นผู้มีความมานะบากบั่น หมั่นฝึกฝนใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ และเป็นผู้อุทิศตนเพื่อส่วนรวมอย่างจริงจัง จ่าสิบเอกทวี บูรณเขตต์ จึงถือเป็นผู้มีแบบอย่างชีวิตที่ประสบความสําเร็จ โดยได้รับการยกย่องว่าเป็น "เพชรน้ำเอกแห่งวงการช่างศิลป์” และได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม พุทธศักราช 2536 และล่าสุดยังได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ "ครูศิลป์ของแผ่นดิน "ประจำปี 2560 จาก ฯพณฯ ธานินทร์ กรัยวิเชียร ประธานที่ปรึกษาพิเศษศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) นับว่าท่านเป็นปราชญ์ท้องถิ่นที่มีความสำคัญในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ของจังหวัดพิษณุโลก.

วันที่ 7 ตุลาคม 2564 ว่าที่ร้อยตรี อิทธิพล บุบผะศิริ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ได้รับมอบหมายจาก นายมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ให้เข้าร่วมพิธีเปิดกิจกรรมของหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จังหวัดพิษณุโลก "ร่วมใจ" สนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินงานโครงการบางระกำโมเดล ณ คลองแยงมุม ตำบลท่าช้าง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก โดยมี นายรณชัย จิตรวิเศษ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย นายชำนาญ ชูเที่ยง ผู้อำนวยการโครงการชลประทานพิษณุโลกและหัวหน้าส่วนราชการร่วมกิจกรรม ทั้งนี้กรมชลประทานได้ดำเนินการ โครงการบางระกำโมเดล ตั้งแต่ปี 2560 จนถึงปัจจุบันปี 2564 เป็นรูปแบบการบริหารจัดการน้ำแบบชุมชนมีส่วนร่วม การบูรณาการของหน่วยงานภาครัฐ และการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้พื้นที่ลุ่มต่ำที่อยู่ระหว่างลุ่มน้ำยมและลุ่มน้ำน่านในเขตจังหวัดสุโขทัยและจังหวัดพิษณุโลก เพื่อป้องกันและบรรเทาอุทกภัยที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ดำเนินการบริหารจัดการน้ำที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตของเกษตรกรในพื้นที่ลุ่มต่ำ โดยการปรับปฏิทินการเพาะปลูกของเกษตรกรในพื้นที่ลุ่มต่ำ ทำการปลูกข้าวฤดูนาปีให้เร็วขึ้น เริ่มทำการเพาะปลูก 1 เมษายน และเก็บเกี่ยวผลผลิตใน 15 สิงหาคม ก่อนฤดูน้ำหลาก โดยในปี 2564 ได้ดำเนินการโครงการบางระกำโมเดลในพื้นที่ลุ่มต่ำเขตชลประทาน จำนวน 265,000 ไร่ นอกจากนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการสนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินงานโครงการบางระกำโมเดล เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ โดยในการจัดกิจกรรมครั้งนี้สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพิษณุโลก มอบหญ้าอาหารสัตว์พระราชทาน (หญ้าอัดฟ่อน 250 ฟ่อน) รวม 5,000 กิโลกรัม พร้อมถุงยังชีพสำหรับสัตว์ จำนวน 25 ชุด และมีการปล่อยพันธุ์ปลาในแหล่งน้ำธรรมชาติ ประกอบด้วย ปลาตะเพียนทอง, ตะเพียนขาว, กระแห, แก้มช้ำ, สร้อย, รวม 500,000 ตัว และปลาตุ้ม 1,000,000 ตัว และการสาธิตการเพาะพันธุ์ปลาตะเพียนขาวด้วยชุดเพาะเคลื่อนที่, ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรมอบเชื้อราไตรโคเดอร์มาป้องกันและกำจัดเชื้อราหลังน้ำลด จำนวน 20 ราย และศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 6 จังหวัดพิษณุโลก มอบต้นกล้าพืชผักสวนครัว จำนวน 20 ราย, สถานีพัฒนาที่ดินพิษณุโลก มอบน้ำหมักเพื่อกำจัดกลิ่นน้ำเน่าที่ท่วมขัง จำนวน 300 ลิตร ต้นพันธุ์ฟัก จำนวน 200 ต้น, โดยมีตัวแทนเกษตรกร ได้แก่ อาสาสมัครเกษตร ด้านพืช ด้านปศุสัตว์ ด้านประมง ด้านการพัฒนาที่ดินในพื้นที่เข้ามอบปัจจัยและร่วมกิจกรรม จำนวนรวม 30 คน.

วันที่ 7 ตุลาคม 2564 นายบุญชู จันทร์สุวรรณ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี ในฐานะนายกสมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย ร่วมกับ นายมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก และอุปนายกสมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย ภาคเหนือ ว่าที่ร้อยตรี อิทธิพล บุบผะศิริ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก และหัวหน้าส่วนราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ลงพื้นที่นำถุงยังชีพจำนวน 1,000 ชุด ไปมอบให้กับผู้ประสบอุทกภัยในเขตพื้นที่อำเภอเมืองพิษณุโลกและอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก โดยจุดแรกนำถุงยังชีพจำนวน 300 ชุด มอบให้กับครอบครัวของราษฎรที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่บ้านแม่ระหัน ณ บริเวณวัดแม่ระหัน หมู่ที่ 10 ตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมืองพิษณุโลก พร้อมทั้งนำถุงยังชีพลงเรือไปมอบให้กับราษฎรที่บ้านเรือนถูกน้ำท่วมจนติดเกาะไม่สามารถออกมายังพื้นที่ภายนอกได้ต้องใช้เรือเป็นพาหนะแทนจำนวน 7 ครัวเรือน เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้น จากนั้นทางคณะได้นำถุงยังชีพจำนวน 700 ชุด ไปมอบให้กับผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่อำเภอบางระกำ อีกจำนวน 4 จุด ประกอบด้วย จุดที่ 1 เทศบาลตำบลบางระกำ จำนวน 120 ชุด พร้อมทั้งได้นำถุงยังชีพลงเรือไปมอบให้แก่ผู้ประสบอุทกภัยที่บริเวณชุมชนบ้านเหนือ ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำยมซึ่งมีระดับน้ำท่วมสูงมากได้รับความเดือดร้อนจำนวนหลายหลังคาเรือนพร้อมทั้งได้พบปะเยี่ยมเยียนและให้กำลังใจราษฎรที่ประสบอุทกภัยทุกครอบครัวให้สามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติสุข ต่อจากนั้นนำถุงยังชีพไปมอบให้จุดที่ 2 ที่เทศบาลตำบลบางระกำเมืองใหม่ จำนวน 180 ชุด, จุดที่ 3 ที่ทำการกำนันตำบลชุมแสงสงคราม (นายเพชรรุ่ง สุขประเสริฐ) จำนวน 200 ชุด และจุดที่ 4 ที่ทำการกำนันตำบลท่านางงาม (นายชะลอ เทียนทองดี) จำนวน 200 ชุด โดยมีประชาชนที่ประสบอุทกภัยได้รับความเดือดร้อนอย่างหนักมารอรับถุงยังชีพกันด้วยความดีใจ ทั้งนี้สำหรับพื้นที่บ้านแม่ระหัน ตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมืองพิษณุโลก และพื้นที่อำเภอบางระกำ เป็นพื้นที่รับน้ำทุ่งบางระกำโมเดลที่รับมวลน้ำจำนวนมากจากจังหวัดสุโขทัย ก่อนไหลหลากเข้าท่วมทุ่งนาและบ้านเรือนประชาชนส่งผลให้ได้รับความเดือดร้อน.

หน้า 85 จาก 305