อบจ.พิษณุโลก ร่วมประชุมขับเคลื่อนจังหวัดที่มีผลสัมฤทธิ์สูง (High Performance Provinces) กลุ่มภาคเหนือ 9 จังหวัด

วันอังคาร, 03 พฤษภาคม 2565
อ่าน 241 ครั้ง
วันที่ 3 พฤษภาคม 2565 ว่าที่ร้อยตรี อิทธิพล บุบผะศิริ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ได้รับมอบหมายจาก นายมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ให้เข้าร่วมสัมมนาการขับเคลื่อนจังหวัดที่มีผลสัมฤทธิ์สูง (High Performance Provinces) กลุ่มภาคเหนือ (1) ณ ห้องประชุมพระพุทธชินราช (771) ชั้น 7 ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก โดยมี พลเอกอกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์ ประธานคณะกรรมาธิการการบริหารราชการแผ่นดิน วุฒิสภา เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาฯ พร้อมด้วย พลเอกชูศักดิ์ เมฆสุวรรณ์ รองประธานคณะกรรมาธิการบริหารราชการแผ่นดิน วุฒิสภา, ว่าที่ร้อยตรี เชิดศักดิ์ จำปาเทศ ประธานคณะอนุกรรมาธิการระบบบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย, รศ.ดร ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ ประธานคณะอนุกรรมาธิการปรับปรุงพัฒนาระบบและการบูรณาการฐานข้อมูลในการบริหารราชการแผ่นดินของหน่วยงานของรัฐ, นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย, นายธนศักดิ์ มังกโรทัย ผู้อำนวยการกองนวัตกรรมบริหารภาครัฐ ร่วมการสัมมนาและบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมสัมมนา โดยมี นายรณชัย จิตรวิเศษ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการกลุ่มภาคเหนือ 9 จังหวัด ให้การต้อนรับพร้อมร่วมสัมมนาฯ สำหรับการสัมมนาในครั้งนี้มีสาระสำคัญและการขับเคลื่อนแผนการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน การติดตามความคืบหน้าข้อสังเกตและข้อเสนอแนะที่ผ่านมาต่อการขับเคลื่อนจังหวัดที่มีผลสัมฤทธิ์สูง (High Performance Provinces) การขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัล ในประเด็นการนำระบบดิจิทัลมาใช้ปรับกระบวนงานภาครัฐและการให้บริการประชาชน นโยบายขับเคลื่อนจังหวัดที่มีผลผลิตสูง (High Performance Provinces) โดยเน้นบริการภาครัฐสะดวก รวดเร็ว และตอบโจทย์ชีวิตประชาชน พร้อมทำระบบข้อมูลภาครัฐที่มีมาตรฐาน ทันสมัย และเชื่อมโยงกัน 90 รัฐบาลดิจิทัล จัดโครงสร้างภาครัฐกะทัดรัด ปรับตัวได้เร็วและระบบงานมีผลสัมฤทธิ์สูง จัดกำลังคนภาครัฐมีขนาดที่เหมาะสมและมีสมรรถนะสูง พร้อมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ระบบบริหารงานบุคคลที่สามารถดึงดูด สร้างและรักษาคนดีคนเก่ง ไว้ในภาครัฐได้ พร้อมการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ คล่องตัวโปร่งใส และมีกลไกป้องกันการทุจริตทุกขั้นตอน รวมถึงการผลักดันให้เกิดจังหวัดที่มีผลสัมฤทธิ์สูงจะช่วยแก้ไขปัญหาการบริหารราชการพื้นที่ทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องกำลังคน ความโปร่งใสตรวจสอบได้ ความมีประสิทธิภาพ ความสะดวกรวดเร็วในการอำนวยความสะดวกให้ประชาชน ลดภาระค่าใช้จ่ายงบประมาณเมื่อทุกจังหวัดดำเนินการได้พอจะเป็นคนใดที่จะผลักดันการปฏิรูปในระดับประเทศได้บรรลุเป้าหมาย ประกอบกับหัวใจสำคัญซึ่งเป็นปัจจัยความสำเร็จของการปฏิรูปประเทศอยู่ที่การแก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับยุคสมัยปัจจุบัน และเอื้อต่อการเป็นรัฐดิจิทัศน์ โดยเฉพาะพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงซึ่งคณะกรรมาธิการจะต้องเร่งรัดผลักดันการแก้ไขพระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว เพื่อประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติต่อไป.