มาโนช บุญยัง

มาโนช บุญยัง

วันที่ 3 พฤษภาคม 2565 ว่าที่ร้อยตรี อิทธิพล บุบผะศิริ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ได้รับมอบหมายจาก นายมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ให้เข้าร่วมสัมมนาการขับเคลื่อนจังหวัดที่มีผลสัมฤทธิ์สูง (High Performance Provinces) กลุ่มภาคเหนือ (1) ณ ห้องประชุมพระพุทธชินราช (771) ชั้น 7 ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก โดยมี พลเอกอกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์ ประธานคณะกรรมาธิการการบริหารราชการแผ่นดิน วุฒิสภา เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาฯ พร้อมด้วย พลเอกชูศักดิ์ เมฆสุวรรณ์ รองประธานคณะกรรมาธิการบริหารราชการแผ่นดิน วุฒิสภา, ว่าที่ร้อยตรี เชิดศักดิ์ จำปาเทศ ประธานคณะอนุกรรมาธิการระบบบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย, รศ.ดร ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ ประธานคณะอนุกรรมาธิการปรับปรุงพัฒนาระบบและการบูรณาการฐานข้อมูลในการบริหารราชการแผ่นดินของหน่วยงานของรัฐ, นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย, นายธนศักดิ์ มังกโรทัย ผู้อำนวยการกองนวัตกรรมบริหารภาครัฐ ร่วมการสัมมนาและบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมสัมมนา โดยมี นายรณชัย จิตรวิเศษ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการกลุ่มภาคเหนือ 9 จังหวัด ให้การต้อนรับพร้อมร่วมสัมมนาฯ สำหรับการสัมมนาในครั้งนี้มีสาระสำคัญและการขับเคลื่อนแผนการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน การติดตามความคืบหน้าข้อสังเกตและข้อเสนอแนะที่ผ่านมาต่อการขับเคลื่อนจังหวัดที่มีผลสัมฤทธิ์สูง (High Performance Provinces) การขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัล ในประเด็นการนำระบบดิจิทัลมาใช้ปรับกระบวนงานภาครัฐและการให้บริการประชาชน นโยบายขับเคลื่อนจังหวัดที่มีผลผลิตสูง (High Performance Provinces) โดยเน้นบริการภาครัฐสะดวก รวดเร็ว และตอบโจทย์ชีวิตประชาชน พร้อมทำระบบข้อมูลภาครัฐที่มีมาตรฐาน ทันสมัย และเชื่อมโยงกัน 90 รัฐบาลดิจิทัล จัดโครงสร้างภาครัฐกะทัดรัด ปรับตัวได้เร็วและระบบงานมีผลสัมฤทธิ์สูง จัดกำลังคนภาครัฐมีขนาดที่เหมาะสมและมีสมรรถนะสูง พร้อมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ระบบบริหารงานบุคคลที่สามารถดึงดูด สร้างและรักษาคนดีคนเก่ง ไว้ในภาครัฐได้ พร้อมการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ คล่องตัวโปร่งใส และมีกลไกป้องกันการทุจริตทุกขั้นตอน รวมถึงการผลักดันให้เกิดจังหวัดที่มีผลสัมฤทธิ์สูงจะช่วยแก้ไขปัญหาการบริหารราชการพื้นที่ทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องกำลังคน ความโปร่งใสตรวจสอบได้ ความมีประสิทธิภาพ ความสะดวกรวดเร็วในการอำนวยความสะดวกให้ประชาชน ลดภาระค่าใช้จ่ายงบประมาณเมื่อทุกจังหวัดดำเนินการได้พอจะเป็นคนใดที่จะผลักดันการปฏิรูปในระดับประเทศได้บรรลุเป้าหมาย ประกอบกับหัวใจสำคัญซึ่งเป็นปัจจัยความสำเร็จของการปฏิรูปประเทศอยู่ที่การแก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับยุคสมัยปัจจุบัน และเอื้อต่อการเป็นรัฐดิจิทัศน์ โดยเฉพาะพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงซึ่งคณะกรรมาธิการจะต้องเร่งรัดผลักดันการแก้ไขพระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว เพื่อประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติต่อไป.

วันที่ 2 พฤษภาคม 2565 นายมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก พร้อมด้วย ว่าที่ร้อยตรี อิทธิพล บุบผะศิริ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ว่าที่ร้อยตรี วีรภัทร จีนด้วง และนายชินนะ คชนิล เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก นางสีไพร โกธรรม ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก และหัวหน้าส่วนราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ร่วมให้การต้อนรับหัวหน้าส่วนราชการในโอกาสโอนย้ายมาดำรงตำแหน่งในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 5 ราย ประกอบด้วย นายภัทร ใจเอม รองปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก, นายวิโรจน์ มะลิซ้อน ผู้อำนวยการกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม, นางสุรางคณา คุ้มครอง ผู้อำนวยการกองทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, นางสาวกนิษฐิกา แพงลาด ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ และนางเบญญา บำรุงพงศ์ หัวหน้าฝ่ายตรวจติดตามและประเมินผล กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก พร้อมทั้งกล่าวให้โอวาทแก่หัวหน้าส่วนราชการที่โอนย้ายมาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลกทุกท่านตั้งใจปฏิบัติหน้าที่และปฏิบัติงานตามระเบียบราชการอย่างเคร่งครัด โดยมีหัวส่วนราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ร่วมให้การต้อนรับอย่างอบอุ่นและปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 อย่างเคร่งครัด ณ ห้องประชุมพระนเรศ อาคาร 2 ชั้น 5 องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก.

วันที่ 27 เมษายน 2565 ว่าที่ร้อยตรี อิทธิพล บุบผะศิริ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ได้รับมอบหมายจาก นายมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ให้นำข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานจ้างในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก เข้าร่วมกิจกรรมโครงการจิตอาสาพัฒนา "พิษณุโลกเมืองสะอาด" (PHITSANULOK CLEAN & TIDY) ครั้งที่ 21/2565 ณ บริเวณเชิงสะพานพระราชวังจันทน์ (ฝั่งพระราชวังจันทน์) และบริเวณโดยรอบ ตามนโยบายของ นายรณชัย จิตรวิเศษ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก โดยมีข้าราชการ ลูกจ้างและพนักจ้างในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลกพร้อมใจช่วยกันทำความสะอาด ตัดแต่งกิ่งไม้ และเก็บกวาดขยะมูลฝอยตามจุดที่ได้รับมอบหมายโดยพร้อมเพรียงกันเพื่อให้เกิดความสะอาด เรียบร้อยและสวยงาม.
วันที่ 27 เมษายน 2565 ว่าที่ร้อยตรี อิทธิพล บุบผะศิริ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก พร้อมด้วย นายวิเชียร ภักดี รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ได้รับมอบหมายจาก นายมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ให้ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานขุดลอกวัชพืชกีดขวางทางน้ำภายในคลองส่งน้ำพื้นที่ตำบลดินทอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 3 แห่ง ประกอบด้วย คลองบึงหนองขวา หมู่ที่ 7 บ้านแหลมม่วง , คลองคู้ หมู่ที่ 4 บ้านหนองกระแบก และคลองไดงูเหลือม หมู่ที่ 9 บ้านกกไม้แดง เชื่อมต่อกับตำบลหนองพระ อำเภอวังทอง เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนในพื้นที่ ร่วมกับ นายอัครโชค สุวรรณทอง นายอำเภอวังทอง นายนเรศ แสนประสิทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดินทอง นายสุเทพ แสนประสิทธิ์ กำนันตำบลดินทอง นายสำเริง เที่ยงอินทร์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 9 ภายหลังได้รับการร้องขอสนับสนุนเครื่องจักรกลจากองค์การบริหารส่วนตำบลดินทอง เพื่อให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ช่วยดำเนินการขุดลอกวัชพืชเพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน เนื่องจากพบว่าคลองส่งน้ำดังกล่าวปัจจุบันมีวัชพืชกีดขวางทางน้ำขึ้นปกคลุมอย่างหนาแน่นและบางช่วงมีดินตะกอนสะสมทำให้คลองส่งน้ำตื้นเขินส่งผลให้การไหลเวียนของน้ำและการติดตั้งเครื่องสูบน้ำของเกษตรกรของราษฎรทำได้ไม่สะดวก นอกจากนี้ยังพบว่าคลองส่งน้ำดังกล่าวเป็นพื้นที่รับมวลน้ำที่ไหลมาจากเขาหนองกบ ผ่านพื้นที่หมู่ที่ 7 , 8 , 9 ก่อนจะไหลลงสู่บึงกกไม้แดง ตำบลดินทอง และไหลต่อไปยังพื้นที่ตำบลหนองพระ อำเภอวังทอง โดยวันนี้เจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการขุดลอกวัชพืชและดินตะกอนภายในคลองส่งน้ำออกทั้งหมด ซึ่งคลองหนองบึงขวา หมู่ที่ 7 บ้านแหลมม่วง มีความกว้าง 5-10 เมตร ความยาว 1,650 เมตร, คลองคู้ หมู่ที่ 4 บ้านหนองกระแบก มีความกว้าง 10-15 เมตร ความยาว 3,600 เมตร และคลองไดงูเหลือม หมู่ที่ 9 บ้านกกไม้แดง เชื่อมต่อกับตำบลหนองพระ มีความกว้าง 6.50-18 เมตร และความยาว 2,040 เมตร เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จจะสามารถช่วยเปิดเส้นทางระบายน้ำให้ไหลได้สะดวกเพิ่มมากขึ้นแก้ปัญหาน้ำท่วมขังไร่นาและบ้านเรือนประชาชนในช่วงฤดูน้ำไหลหลากและใช้กักเก็บน้ำไว้ให้เกษตรกรในพื้นที่ทำการเกษตรกว่า 2,000 ไร่ รวมทั้งยังใช้ระบายน้ำไปกักเก็บไว้ภายในบึงกกไม้แดง ซึ่งเป็นบึงน้ำสาธารณะประโยชน์ขนาดใหญ่เพื่อใช้ผลิตน้ำประปาหมู่บ้านส่งไปหล่อเลี้ยงราษฎรในพื้นที่ตำบลดินทอง อำเภอวังทอง ท่ามกลางความพึงพอใจของผู้นำท้องที่ผู้นำท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก.
หน้า 35 จาก 305