มาโนช บุญยัง

มาโนช บุญยัง

วันที่ 6 มกราคม 2565 ว่าที่ร้อยตรี อิทธิพล บุบผะศิริ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก พร้อมด้วย ว่าที่ร้อยตรี ประเชิญ เพชรจันทร์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก เขตอำเภอเมืองพิษณุโลก ได้รับมอบหมายจาก นายมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ให้เข้าร่วมประชุมกำนัน-ผู้ใหญ่บ้านตำบลมะขามสูง “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ณ องค์การบริหารส่วนตำบลมะขามสูง อำเภอเมืองพิษณุโลก โดยมี นายวัชรินทร์ ทับทองหลาง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมะขามสูง นายวิเชียร อั้นทรัพย์ กำนันตำบลมะขามสูง และผู้ใหญ่บ้าน-แพทย์-สารวัตร-ผู้ช่วยฯ-ผรส.-ผู้ทรงคุณวุฒิ และคณะกรรมการระดับตำบลเข้าร่วมประชุม พร้อมกันนี้รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ได้นำนโยบายของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลกในการบำบัดทุกข์ทุกข์บำรุงสุขพี่น้องชาวจังหวัดพิษณุโลกมาประชาสัมพันธ์และชี้แจงให้แก่ผู้นำท้องที่ผู้นำท้องถิ่นที่เข้าร่วมประชุมได้รับทราบเพื่อนำไปถ่ายทอดสร้างความเข้าใจให้แก่ประชาชน อาทิ โครงการก่อสร้างและปรับปรุงซ่อมแซมถนนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน ฯลฯ พร้อมทั้งร่วมอวยพรปีใหม่ให้ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนมีความสุขตลอดปีใหม่นี้.

วันที่ 5 มกราคม 2565 ว่าที่ร้อยตรี อิทธิพล บุบผะศิริ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ได้รับมอบหมายจาก นายมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ให้ลงพื้นที่รับทราบปัญหาความเดือดร้อนและติดตามให้ความช่วยเหลือราษฎรที่กำลังขาดแคลนน้ำในพื้นที่ตำบลพรหมพิราม-ตำบลท่าช้าง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนเบื้องต้นให้แก่ราษฎรในพื้นที่ ร่วมกับ นายวัชระ กุลมาก ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 6 ตำบลท่าช้าง, นายมานัส ขำกรัด ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 3 ตำบลพรหมพิราม, นางขนิษฐา บัวใย ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 14 ตำบลพรหมพิราม และราษฎรของทั้งสองตำบล เนื่องจากพบว่าขณะนี้ปริมาณน้ำภายในคลองชลประทาน C1 ลดระดับลงจนเกือบแห้งขอดทั้งลำคลองส่งผลให้สัตว์น้ำที่อาศัยภายในคลองชลประทานดังกล่าวตายและไม่มีน้ำสำหรับสูบขึ้นมาใช้อุปโภคบริโภคได้สร้างความเดือดร้อนให้แก่ราษฎรของทั้งสองตำบลเป็นอย่างมาก ซึ่งถือว่าหนักสุดในรอบ 40 ปี โดยกลุ่มราษฎรได้ร้องขอให้ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลกช่วยประสานกับชลประทานจังหวัดพิษณุโลกและผู้อำนวยการสำนักชลประทานที่ 3 ให้ปล่อยน้ำมาหล่อเลี้ยงระบบนิเวศและความสมดุลทางธรรมชาติภายในคลองชลประทาน C1 เพื่อให้สัตว์น้ำ อาทิ กุ้ง หอย ปู ปลา ได้ขยายพันธุ์เพิ่มมากขึ้นเพื่อเป็นอาหารของประชาชน รวมทั้งเพื่อให้สัตว์เลี้ยงของราษฎรในพื้นที่ได้ดื่มกินในช่วงฤดูแล้งเพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนเบื้องต้นให้แก่ราษฎรในพื้นที่ต่อไป.

วันที่ 4 มกราคม 2565 ว่าที่ร้อยตรี อิทธิพล บุบผะศิริ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก พร้อมด้วย สิบเอก ดร.ชูศักดิ์ เพชรกระจ่าง ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ และนางสาวใกล้รุ่ง ยิ้มศิลป์ หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ได้รับมอบหมายจาก นายมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ให้เข้าร่วมประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนกิจกรรมปีน ปั่น ปลูกป่านันทนาการภูผาหินบ้านมุง พื้นที่ตำบลบ้านมุง อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก ครั้งที่ 1/2565 ณ ห้องประชุมสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (772) ชั้น 7 ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก โดยมี นายรณชัย จิตรวิเศษ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานในการประชุม และมีคณะทำงานฯ ที่จังหวัดพิษณุโลกแต่งตั้งเข้าร่วมประชุม ทั้งนี้เพื่อขับเคลื่อนพื้นที่ตำบลบ้านมุง อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดพิษณุโลก ส่งเสริมอาชีพ และช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ให้มีรายได้เพิ่มขึ้น เกิดการพัฒนาอาชีพและเศรษฐกิจฐานรากที่ส่งเสริมให้กลุ่มคนทั้งเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ครอบครัว และองค์กรต่าง ๆ ในชุมชนได้รับการพัฒนาเศรษฐกิจระดับชุมชนให้มีความเข้มแข็ง คนในชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้และเพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่ป่าอย่างยั่งยืนต่อไป.
วันที่ 4 มกราคม 2565 ว่าที่ร้อยตรี อิทธิพล บุบผะศิริ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก พร้อมด้วย นายอดุลวิทย์ วิวัฒน์ธนาฒย์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก เขตอำเภอเมืองพิษณุโลก นางสีไพร โกธรรม ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก และหัวหน้าส่วนราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ร่วมให้การต้อนรับ นายปกรณ์ เนตรประภาภรณ์ ผู้แทนจากบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (NT) พร้อมคณะในโอกาสเดินทางมาให้ความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องสมาร์ทซิตี้ เพื่อนำความรู้ที่ได้มาพัฒนาโครงการที่เชื่อมโยงกับนโยบายขององค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ประกอบด้วย 1.สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ 2.เศรษฐกิจอัจฉริยะ 3.บริหารภาครัฐอัจฉริยะ 4.การดำรงชีวิตอัจฉริยะ 5.พลเมืองอัจฉริยะ โดยมุ่งหวังเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้พร้อมเข้าสู่ยุค Thailand 4.0 อย่างเต็มรูปแบบ โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยและชาญฉลาดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการและการบริหารจัดการเมือง ลดค่าใช้จ่ายและการใช้ทรัพยากรของเมืองและประชากรเป้าหมาย โดยเน้นการออกแบบที่ดีและการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจและประชาชนในการพัฒนาเมือง ภายใต้แนวคิด “การพัฒนาเมือง” ให้ประชาชนในเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขอย่างยั่งยืน เพื่อรองรับการใช้ข้อมูลสารสนเทศแบบทันสมัย ทั้งด้านข่าวสาร สุขภาพ ความปลอดภัยฯ .
หน้า 61 จาก 305