อบจ.พิษณุโลก ร่วมประชุมนานาชาติระเบียงเศรษฐกิจ หลวงพระบาง อินโดจีน เมาะลำไย ครั้งที่ 5 (The 5 “LIMEC International Conference LIMEC Connectivity) LIMEC BORDERLESS

วันศุกร์, 21 มิถุนายน 2562
อ่าน 263 ครั้ง
วันที่ 21 มิถุนายน 2562 นายมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก เข้าร่วมประชุมนานาชาติระเบียงเศรษฐกิจ หลวงพระบาง อินโดจีน เมาะลำไย ครั้งที่ 5 (The 5 “LIMEC International Conference LIMEC Connectivity) LIMEC BORDERLESS ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร แม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ระหว่างวันที่ 19-22 มิถุนายน 2562 โดยมี นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดตาก นายประเสริฐ จึงกิจรุ่งโรจน์ ประธานหอการค้าจังหวัดตาก และตัวแทนหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนร่วมงานจำนวนมาก โดยในการประชุมนานาชาติครั้งนี้มีเวทีอภิปรายเรื่อง การอำนวยความสะดวกในการข้ามแดนทั้งคนและสินค้า พร้อมระบบขนส่งข้ามแดน, เวทีอภิปรายเรื่อง ความร่วมมือภาคเกษตร การค้าชายแดน การลงทุน, เวทีอภิปรายเรื่องการเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวและท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และมีการลงนาม MOU คู่เจรจาการค้าธุรกิจ พร้อมทั้งรับฟังวิสัยทัศน์ของผู้นำประเทศ ,รัฐ ,แขวง ในรายงานผลการดำเนินงานและนำเสนอผลการประชุมในกรอบความร่วมมือในการค้าและด้านต่าง ๆ บนระเบียงเศรษฐกิจหลวงพระบาง- อินโดจีน –เมาะลำไย (LIMEC) เพื่อประโยชน์แห่งประเทศร่วมกันอย่างยั่งยืนต่อไป โดยมีตัวแทนภาครัฐ ภาคเอกชน นักธุรกิจ และผู้ประกอบการค้า การลงทุนจาก 3 ประเทศ 9 เมือง จากจังหวัดตาก สุโขทัย อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ และพิษณุโลก แขวงหลวงพระบาง แขวงไชยะบูลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และรัฐกะเหรี่ยง ,รัฐมอญ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา เข้าร่วมการประชุมนานาชาติ (LIMEC) อันจะนำมาซึ่งความมั่นคงทางเศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 อย่างยั่งยืนต่อไป สำหรับระเบียงเศรษฐกิจหลวงพระบาง อินโดจีน เมาะลำไย ( Luangprabang – Indochina- Mawlamyine Economic Corridr ,LIMEC ) นั้นเป็นระเบียงเศรษฐกิจที่มีส่วนเชื่อมโยงกับระเบียงเศรษฐกิจอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ คือ ทุกภาคส่วนในภาคเหนือตอนล่าง 1 ของประเทศไทยอันประกอบด้วย ตาก สุโขทัย อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ และพิษณุโลก แขวงหลวงพระบาง แขวงไชยะบูลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และรัฐกะเหรี่ยง ,รัฐมอญ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ได้ร่วมกันเปิดระเบียงเศรษฐกิจนี้ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2558 โดยนำความเชื่อมโยงกันใน 5 ด้าน คือ ด้านการค้าการลงทุน, ด้านการศึกษา, ด้านสุภาพ, ด้านการท่องเที่ยว และด้านโลจิสติกส์ ซึ่งแต่ละรัฐ ,จังหวัด , เมือง ล้วนมีความเชื่อมโยงกันอยู่ขยายเครือข่ายให้กว้างมากขึ้นด้วยมิตรภาพจากการจัดประชุมนานาชาติทั้ง 3 ครั้งที่ผ่านมา เพิ่มโอกาสการเชื่อมโยงกันของทั้ง 3 ประเทศบนระเบียงเศรษฐกิจนี้ยกระดับการพัฒนาส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และเสริมสร้างศักยภาพของทั้ง 3 ประเทศ ให้เติบโตไปด้วยกันในทุกมิติ โดยในการประชุมนานาชาติฯ ครั้งนี้จึงมุ่งเน้นในการผลักดันให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างกันทั้งด้านกายภาพ องค์กร และประชาชน ของจังหวัด, รัฐ, เมือง ทั้ง 3 ประเทศในทุกมิติ ทั้งด้านการค้าการลงทุน การศึกษา สุขภาพ การท่องเที่ยวและโลจิสติส์เพื่อประโยชน์แห่งสามประเทศร่วมกัน.