มาโนช บุญยัง

มาโนช บุญยัง

วันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 ว่าที่ร้อยตรีอิทธิพล บุบผะศิริ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ได้รับมอบหมายจาก นายมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ให้เข้าร่วมประชุมหมู่บ้านนาขุม ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564 ณ ที่ทำการกองทุนเงินล้านบ้านนาขุม หมู่ที่ 8 บ้านนาขุม ตำบลท่าช้าง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก เพื่อพบปะกับผู้นำท้องถิ่นและประชาชนบ้านนาขุม พร้อมทั้งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินโครงการต่างๆ ที่ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ได้ดำเนินการเพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชนไปเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้กับราษฎรในพื้นที่บ้านนาขุมได้รับทราบ อาทิ ติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างถนนสายเลียบคลองชลประทาน C5 คลองเมม-ท่าช้าง ระยะทาง 1 กิโลเมตร ซึ่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ได้ช่วยประสานกับแขวงทางหลวงพิษณุโลก ที่ 1 ให้ดำเนินการติดตั้งเสาไฟฟ้าส่องสว่างเพื่อสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้แก่ประชาชนที่ใช้เส้นทางดังกล่าวสัญจร , โครงการปรับปรุงซ่อมแซมถนนผิวจราจรลาดยางผิวทางแบบแอสฟัลติกคอนกรีต สายบ้านนาขุม หมู่ที่ 7 ตำบลท่าช้าง เชื่อมต่อกับตำบลมะตูม อำเภอพรหมพิราม, การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด 19 ฯลฯ เพื่อให้ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล เจ้าหน้าที่ อสม. และประชาชนบ้านนาขุมได้รับทราบ พร้อมกันนี้มีเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าช้าง มาให้ความรู้เกี่ยวกับการฉีดวัควัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 และเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรอำเภอพรหมพิราม มาเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับเรื่องเงินประกันราคาข้าวให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับทราบ.

วันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 นายรณชัย จิตรวิเศษ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก พร้อมด้วย ว่าที่ร้อยตรีอิทธิพล บุบผะศิริ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก นายฐิตนันท์ อุดมสุข ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 9 พิษณุโลก นางเนาวรัตน์ เอกภาพันธ์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพิษณุโลก และว่าที่ร้อยตรีณฐพล นพณัฐธนากุล ปลัดอำเภอเมืองพิษณุโลก หัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครอง รักษาราชการแทนนายอำเภอเมืองพิษณุโลก ลงพื้นที่รับทราบปัญหาความเดือดร้อนและเร่งติดตามให้ความช่วยเหลือชาวนาที่ประสบปัญหาน้ำท่วมขังพื้นที่นาข้าวหอมมะลินาปีจำนวนหลายพันไร่ที่บริเวณทุ่งทะเลแก้ว พื้นที่หมู่ที่ 1 บ้านเด่นโบสถ์โพธิ์งาม และหมู่ที่ 9 บ้านแหลมโพธิ์ ตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมืองพิษณุโลก ร่วมกับ นายอนุชิต โมลา กำนันตำบลบ้านกร่าง, นางมาลี สิงห์ทอง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 , นายเหลียง ฟักทอง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 , นายจรัญ เพชรอ่อน ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 9 และเกษตรกรในพื้นที่ตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมืองพิษณุโลก เพื่อร่วมหาแนวทางแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังนาข้าวของชาวนา ซึ่งพบว่าสาเหตุของน้ำท่วมครั้งนี้เกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่องทำให้มีปริมาณน้ำฝนสะสมจำนวนมากที่ไหลมาจากพื้นที่ตำบลจอมทอง, ตำบลพลายชุมพล, ตำบลบ้านกร่าง, ตำบลบ้านคลอง อำเภอเมืองพิษณุโลก รวมทั้งมวลน้ำจากบึงแก่งใหญ่, ด้านหลังเซ็นทรัลพลาซ่า พิษณุโลก และพื้นที่ตำบลพลายชุมพล ไหลมารวมที่บริเวณทุ่งทะเลแก้วซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำทำให้ไม่สามารถระบายน้ำได้ทันส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขังนาข้าวพันธุ์หอมมะลินาปีที่ออกรวงเหลืองอร่ามไปทั้งทุ่งนาจำนวนหลายพันไร่ และจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในอีก 1 สัปดาห์ที่จะถึงนี้จนเกือบมิดรวงข้าว ซึ่งหากไม่เร่งสูบระบายน้ำออกข้าวจะเน่าได้รับความเสียหายทั้งหมดเนื่องจากข้าวสุกงอมเต็มที่แล้วและไม่สามารถใช้รถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เนื่องจากน้ำท่วมขังในระดับสูงถึงเครื่องยนต์ทำให้ชาวนาจำนวนมากได้รับความเดือดร้อนอย่างหนักและวอนหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเข้ามาให้ความช่วยเหลือเร่งด่วน จากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลกพร้อมคณะลงพื้นที่ติดตามการดำเนินการสูบผันน้ำเพื่อให้ความช่วยเหลือชาวนาที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมขังนาข้าวครั้งนี้ที่บริเวณคลองบางแก้ว หมู่ที่ 3 บ้านบางแก้ว ตำบลท่านางงาม อำเภอบางระกำ เพื่อเร่งสูบน้ำจากคลอง DR1-10L ซึ่งเป็นพื้นที่รับน้ำทั้งหมดจากพื้นที่ตำบลจอมทอง, ตำบลพลายชุมพล, ตำบลบ้านกร่าง, ตำบลบ้านคลอง, ตำบลวัดจันทร์, ตำบลท่าทอง, ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมืองพิษณุโลก และพื้นที่ตำบลท่านางงาม อำเภอบางระกำ ผันลงสู่คลองบางแก้วเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมขังให้กับชาวนาทั้งสองอำเภอ ซึ่งมีพื้นที่นาข้าวได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมขังครั้งนี้กว่า 20,000 ไร่ โดยในวันนี้เจ้าหน้าที่ฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ได้นำเครื่องสูบน้ำไปติดตั้งเพิ่มเติมอีกจำนวน 2 เครื่อง จากเดิมที่ติดตั้งอยู่ก่อนหน้านี้แล้วจำนวน 10 เครื่อง โดยการบูรณาการร่วมกันระหว่างองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก, สำนักชลประทานที่ 3 , ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 9 พิษณุโลก และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพิษณุโลก เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนให้แก่ชาวนาทั้งสองอำเภออย่างเร่งด่วนต่อไป.

วันที่ 7 พฤศจิกายน 2524 กองช่าง องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก โดยการนำของ นายมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ได้นำเจ้าหน้าที่พร้อมเครื่องจักรกลเข้าดำเนินการปรับปรุงซ่อมแซมพื้นผิวถนนที่ขำรุดบริเวณโดยรอบศูนย์ประวัติศาสตร์พระราชวังจันทน์ อำเภอเมืองพิษณุโลก ซึ่งอยู่ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก โดยทำการ Hot mix ร้อน มาเทพร้อมบดอัดให้แน่นเพื่อให้พื้นผิวถนนบริเวณรอบศูนย์ประวัติศาสตร์พระราชวังจันทน์ให้มีสภาพพร้อมใช้งาน และสัญจรสะดวกปลอดภัย เพื่อตรียมความพร้อมให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวชมภายในศูนย์ประวัติศาสตร์พระราชวังจันทน์แห่งนี้.

วันที่ 6 พฤศจิกายน 2564 นายมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายก่อสร้างและซ่อมบำรุง กองช่าง องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก เข้าดำเนินการปรับปรุงซ่อมแซมถนนโครงการก่อสร้างถนนผิวจราจรลาดยางแบบผิวเรียบสายเลียบคลองส่งน้ำ C-23 หมู่ที่ 8 ตำบลท่าโพธิ์ - ตำบลวัดพริก อำเภอเมืองพิษณุโลก (ช่วง กม.ที่ 1+100-1+900) ซึ่งก่อสร้างขึ้นเมื่อปีงบประมาณ 2555 ปัจจุบันมีสภาพชำรุดเป็นหลายจุด หากดำเนินการแล้วเสร็จจะสามารถช่วยบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนเบื้องต้นให้แก่ประชาชนทั้งสองตำบลได้สัญจรสะดวกและปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น
หน้า 76 จาก 305