มาโนช บุญยัง

มาโนช บุญยัง

วันที่ 24 มิถุนายน 2563 นายมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก พร้อมด้วย นางสาวกมลชนก เหลืองทองนารา เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ร่วมเป็นเกียรติในพิธีมอบทุนช่วยเหลือเด็กปฐมวัย เด็กนอกระบบการศึกษา ทุนพัฒนาศูนย์เด็กเล็กและทุนฝ่าวิกฤติ COVID-19 โครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา จังหวัดพิษณุโลก โดยมี นายเกรียงวิชญ์ เตชวิทยไวทิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานในพิธี และมี ดร.สุเนตร ทองคำพงษ์ นายกสมาคมสุขปัญญา หัวหน้าโครงการจัดการเชิงพื้นที่เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา จังหวัดพิษณุโลก กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดงาน ณ โรงแรมเมย์ฟลาวเวอร์ แกรนด์ พิษณุโลก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก และได้รับเกียรติจาก พลเอก ดร.ศิริ ทิวะพันธุ์ ประธานสถาบันพัฒนาสี่แยกอินโดจีน ดร.ลือชัย ชูนาคา ศึกษาธิการจังหวัดพิษณุโลก, นางปัทมา อินทริช พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, นายจารุกิตติ์ กนกจรส รักษาการรองผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมการเรียนรู้เชิงพื้นที่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และภาคีเครือข่ายของสมาคมสุขปัญญา ร่วมพิธีมอบทุนฯ สำหรับในการมอบทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ทุนฝ่าวิกฤติ COVID-19 ครั้งนี้ ประกอบด้วย ทุนฝ่าวิกฤติ COVID-19 ช่วยเหลือเด็กปฐมวัย เด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา 579 ทุนๆ ละ 600 บาท รวมเป็นเงิน 347,400 บาท, ทุนช่วยเหลือเด็กปฐมวัยที่ยากจนในศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย (ภาคเรียนที่ 2) 579 ทุนๆ ละ 400 บาท รวมเป็นเงิน 231,000 บาท , ทุนพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ 30 ทุนๆ ละ 25,000 บาท รวมเป็นเงิน 750,000 บาท และทุนช่วยเหลือเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาจังหวัดพิษณุโลก 160 ทุนๆ ละ 4,000 บาท รวมเป็นเงิน 640,000 บาท รวมเงินทุนทั้งสิ้นจำนวน 1,968,400 บาท.

วันที่ 18 มิถุนายน 2563 นายมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก มอบหมายให้ ว่าที่ร้อยตรี วีรภัทร จีนด้วง เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก พร้อมด้วย นายสมบุญ บุญญเศรษฐโชติ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมคุณภาพชีวิต นางสุภารัตน์ ฉิมวิหค หัวหน้าฝ่ายสวัสดิการสังคม กองส่งเสริมคุณภาพชีวิต องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก และเจ้าหน้าที่ได้นำรถเข็นนั่งสำหรับผู้พิการพร้อมเครื่องอุปโภคบริโภคไปมอบให้แก่ผู้พิการจำนวน 2 ราย ในพื้นที่ตำบลดินทอง อำเภอวังทอง ตามโครงการ “อบจ.พิษณุโลก ปันน้ำใจ ไม่ทิ้งกัน” ประกอบด้วยรายแรกคือ ด.ญ.ชาลิสา เพียนดิษฐ์ อายุ 10 ปี อยู่บ้านเลขที่ 10/1 หมู่ที่ 1 ตำบลดินทอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งมีความพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่ายกาย และสติปัญญาจนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้และต้องอยู่ในความดูแลของผู้ปกครองอย่างใกล้ชิด จึงจำเป็นต้องใช้รถเข็นนั่งเนื่องจากรถเข็นนั่งคันเก่ามีสภาพชำรุดและมีขนาดเล็กจนไม่สามารถนั่งได้ และรายที่สอง นายชิ้น พุ่มพวง อายุ 66 ปี อยู่บ้านเลขที่ 16 หมู่ที่ 1 ตำบลดินทอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งมีความพิการทางการเคลื่อนไหวเนื่องจากเส้นเลือดในสมองแตกเมื่อปลายเดือนพฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา และผู้พิการยังป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงตั้งแต่กำเนิดส่งผลให้ร่างกายซีกซ้ายอ่อนแรง นอกจากนี้ยังมีโรคประจำตัวคือ โรคความดันและภาวะไขมันในเลือดสูงจนปัจจุบันไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ทั้งนี้องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลกจัดโครงการดังกล่าวขึ้นเพื่อต้องการให้ผู้พิการสามารถช่วยเหลือตนเองได้และได้รับความสะดวกในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ ตลอดจนเพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระของผู้ดูแลในการช่วยเหลือผู้พิการให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป ท่ามกลางความดีใจของผู้พิการและญาติๆ .

วันที่ 17 มิถุนายน 2563 ว่าที่ร้อยตรี อิทธิพล บุบผะศิริ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก พร้อมด้วย นายอิฐเรศ รำพึงดี นายช่างเครื่องกลอาวุโส กองช่าง องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ติดตามการขุดเจาะบ่อบาดาลของเจ้าหน้าที่ฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กองช่าง องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก เพื่อให้ความช่วยเหลือราษฎรที่ประสบภัยแล้ง ณ บริเวณสถานที่ผลิตน้ำประปาหมู่บ้าน หมู่ที่ 9 บ้านหนองไผ่ ตำบลหินลาด อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก ร่วมกับ นายสุรพล สาสน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหินลาด และนายศุภชัย ผดุงวงษ์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 9 ภายหลังได้รับการร้องขอจากทางองค์การบริหารส่วนตำบลหินลาด อำเภอวัดโบสถ์ เนื่องจากพบว่าเดิมนั้นทางหมู่บ้านได้นำน้ำจากคลองห้วยเขาสุดซึ่งเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติภายในหมู่บ้านมาผลิตเป็นน้ำประปาใช้ภายหมู่บ้าน ซึ่งคาดว่าอีกไม่เกิน 1 เดือน คลองน้ำแห่งนี้จะไม่มีน้ำผลิตประปาหมู่บ้านเนื่องจากปัจจุบันมีปริมาณน้ำเหลือน้อย นอกจากนี้ยังพบว่าขณะนี้น้ำภายคลองห้วยเขาสุดมีสารพิษเจือปนซึ่งเกิดจากสารเคมีที่เกษตรกรใช้ฉีดพ่นพืชไร่และถูกน้ำฝนชะล้างไหลลงสู่คลองน้ำดังกล่าว ซึ่งก่อนนำน้ำมาผลิตน้ำประปาหมู่บ้านจะต้องมีระบบกรองน้ำที่ดีเพื่อความปลอดภัยของราษฎรที่ใช้น้ำประปาดังกล่าว เบื้องต้นเจ้าหน้าที่ได้เข้าดำเนินการขุดเจาะบ่อบาดาลแห่งนี้ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2563 และพบน้ำที่ระดับความลึก 60 เมตร โดยได้น้ำจากรอยหินแตกซึ่งเป็นน้ำที่สะอาดและมีการฝังท่อกันตะกอนเข้า ซึ่งถือว่ามีปริมาณน้ำที่เพียงพอกับความต้องการของราษฎรทั้ง 2 หมู่บ้าน ที่ใช้น้ำจากประปาหมู่บ้านแห่งนี้ ได้แก่ หมู่ที่ 9 จำนวน 120 หลังคาเรือน และหมู่ที่ 2 จำนวน 20 หลังคาเรือน รวมประชากรกว่า 400 คน อีกทั้งยังสามารถต่อท่อน้ำไว้กลางหมู่บ้านสำหรับแจกจ่ายน้ำให้กับราษฎรในพื้นที่หมู่ที่ 1 , 7 , 8 ของตำบลหินลาด ได้นำรถบรรทุกมารับน้ำไปใช้อุปโภคบริโภคภายในครัวเรือนของตนเอง รวมถึงโรงเรียนวัดหินลาด ซึ่งมีครู 18 คน และนักเรียน จำนวน 210 คน ได้ใช้น้ำประปาจากแหล่งน้ำแห่งนี้ด้วย โดยในการดำเนินการขุดเจาะบ่อบาดาลครั้งนี้ได้รับความพึงพอใจจากผู้นำท้องที่ผู้นำท้องถิ่นและประชาชนชาวตำบลหินลาดจำนวนมากที่มาให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ที่ดำเนินการขุดเจาะบ่อบาดาลครั้งนี้.

วันที่ 16 มิถุนายน 2563 นายมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานในพิธีเปิดการแสดงลิเกออนไลน์ของชมรมลิเกพิษณุโลก ตามโครงการ แบ่งปันน้ำใจ ช่วยลิเกไทยเมืองสองแคว ณ ศาลาการเปรียญวัดราชบูรณะ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ทั้งนี้เพื่อเป็นการหารายได้เข้าสู่ชมรมลิเกพิษณุโลกและนำเงินที่ได้ไปมอบเพื่อให้ความช่วยเหลือครอบครัวของสมาชิกชมรมลิเกที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จนกระทั่งถูกยกเลิกจ้างไปทำการแสดงลิเกตามงานต่าง ๆ ทั้งหมด รวมทั้งเพื่อนำเงินมาช่วยเหลือสมาชิกของชมรมลิเกที่เป็นผู้สูงอายุ และผู้ป่วยป่วยติดเตียงเดินไม่ได้ โดยในวันนี้มีศิลปินลิเกพื้นบ้านมากฝีมือทั้งหญิงและชายมาทำการแสดงมากมาย และเปิดทำการแสดงผ่านระบบออนไลน์ช่องทาง Face book ชมรมลิเกพิษณุโลก และหญิงสวยกับชายรัน พร้อมทั้งเชิญชวนให้ทุกท่านร่วมชมและช่วยกดไลท์-กดแชร์ และยังเปิดรับมาลัยออนไลน์พวงละ 20 บาท อีกด้วย โดยท่านสามารถแบ่งปันน้ำใจช่วยลิเกเมืองสองเเควด้วยการคล้องมาลัยออนไลน์ โดยโอนเงินมาได้ที่หมายเลขบัญชี 071-1-16818-4 ธนาคารกสิกรไทย ชื่อบัญชี นาย เสน่ห์ แก้วพงษ์.
หน้า 187 จาก 305