มาโนช บุญยัง
วันที่ 18 พฤษภาคม 2564 ว่าที่ร้อยตรี อิทธิพล บุบผะศิริ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก พร้อมด้วย นายศิริชิน หาญพิทักษ์พงศ์ ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ได้รับมอบหมายจาก นายมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ให้นำเจ้าหน้าที่ฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณาภัย สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก พร้อมรถกระเช้าขนาดใหญ่เข้าดำเนินการลานกิ่งไม้ให้แก่โรงเรียนบ้านบ้านบึงธรรมโรง หมู่ที่ 10 ตำบลศรีภิรมย์ อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก ร่วมกับ นางสุพรรษา อินทรสอน ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่10 และนายแหวน อาจสูงเนิน ประธานกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านบึงธรรมโรง เนื่องจากทางโรงเรียนเกรงว่าต้นจามจุรีขนาดใหญ่อายุหลายสิบปีที่อยู่บริเวณด้านหลังอาคารเรียนจะหักโค่นใส่อาคารเรียนได้รับความเสียหาย ซึ่งโรงเรียนดังกล่าวเปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลไปจนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยเจ้าหน้าที่จะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันนี้ ท่ามกลางความพึงพอใจให้แก่ผู้นำท้องที่ผู้นำท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่อย่างมาก.
วันที่ 17 พฤษภาคม 2564 นายรณชัย จิตรวิเศษ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก พร้อมด้วย นายแพทย์ไกรสุข เพชระบูรณิน นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก นายมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ว่าที่ร้อยตรี อิทธิพล บุบผะศิริ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก นายนฤภพ ลิมปะพันธุ์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลกพิษณุโลก เขตอำเภอเมืองพิษณุโลก นายแพทย์สุชาติ พรเจริญพงศ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพุทธชินราขพิษณุโลก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุมพล เสมาขันธ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และภาคประชาชน พร้อมส่วนงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมตรวจสถานที่เพื่อจัดเตรียมเป็นโรงพยาบาลสนามฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ณ บริเวณหอประชุมศรีวชิรโชติ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม (ส่วนทะเลแก้ว) อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ให้กับประชาชนในจังหวัดพิษณุโลกที่ลงทะเบียนตามลำดับคิวไว้กับโรงพยาบาลพุทธชินราชพิษณุโลก โดยจะเริ่มดีเดย์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไปจนถึงเดือนตุลาคม 2564 ซึ่งสามารถรองรับประชาชนได้กว่าวันละ 2,000 คน.
วันที่ 14 พฤษภาคม 2564 ว่าที่ร้อยตรี อิทธิพล บุบผะศิริ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ได้รับมอบหมายจาก นายมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ให้ลงพื้นที่เยี่ยมชมการจัดกิจกรรมเมืองพิษณุโลกรวมพลังสานต่อวิถีพอเพียง อยู่พอดี มีพอกิน ตามโครงการ “พิษณุโลกเมือง 3 ธรรม น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง รวมพลังปลูกผัก รักษ์โลก" ณ บริเวณชุมชนชีววิถี บ้านไผ่ขอดอน หมู่ที่ 6 ตำบลไผ่ขอดอน อำเภอเมืองพิษณุโลก ภายใต้ความร่วมมือขององค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ร่วมกับสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพิษณุโลก, สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดพิษณุโลก ฯลฯ เพื่อต้องการสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับครัวเรือนและชุมชน สร้างเสริมรายได้ ลดรายจ่ายในการดำรงชีวิตประจำวันของประชาชนในภาวะวิกฤติการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาเป็นแนวทางในการส่งเสริมให้ชุมชนปลูกผักสวนครัว เพื่อให้ชุมชนมีความมั่นคงทางอาหาร โดยทางกลุ่มฯ ได้มีการจัดตั้งธนาคารผักตำบลไผ่ขอดอนและศูนย์เรียนรู้เกี่ยวกับการปลูกผัก ผลไม้ และเลี้ยงสัตว์ เมื่อเพาะปลูกได้ผลผลิตแล้วก็จะนำเมล็ดพันธุ์และต้นกล้าไปแจกจ่ายให้แก่ประชาชนในหมู่บ้านเพื่อขยายพันธุ์ต่อไป.
วันที่ 14 พฤษภาคม 2564 ว่าที่ร้อยตรี อิทธิพล บุบผะศิริ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก พร้อมด้วย จ่าเอกธีระศักดิ์ ดวงเงิน นายช่างชำนาญงาน กองช่าง องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ได้รับมอบหมายจาก นายมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ให้ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินการขุดลอกคูคลองตามโครงการขุดลอกคูคลอง หนองบึง สระน้ำ แหล่งน้ำสาธารณะที่บริเวณคลองแห้ง-วังหวาย (ช่วงที่ 3) หมู่ที่ 6 บ้านไผ่ขอดอน ตำบลไผ่ขอดอน อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก ร่วมกับ นายสมาน นวลเกิด กำนันตำบลไผ่ขอดอน ปัจจุบันคลองดังกล่าวมีผักตบชวาและวัชพืชขึ้นปกคลุมจำนวนมากและตื้นเขิน มีความกว้าง 28 เมตร ยาว 1,230 เมตร และความลึกกว่า 4 เมตร หากดำเนินการแล้วเสร็จจะสามารถใช้เป็นแหล่งกักเก็บน้ำไว้ให้เกษตรกรในพื้นที่หมู่ที่ 1, 3, 4, 6 ตำบลไผ่ขอดอน กว่า 700 หลังคาเรือน ประชากร 2,000 คน ได้ใช้อุปโภคบริโภคและทำการเกษตรรวมพื้นที่กว่า 8,000 ไร่ นอกจากนี้ยังใช้ระบายน้ำในช่วงฤดูฝนที่มีน้ำไหลหลากเพื่อป้องกันน้ำเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนและพื้นที่การเกษตร ส่วนบริเวณคันคลองได้ทำการปรับเกรดเป็นถนนเพื่อให้ราษฎรในพื้นที่ได้สัญจรและขนส่งพืชผลทางการเกษตรได้สะดวกอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนเบื้องต้นให้แก่ราษฎรในพื้นที่ ท่ามกลางความพึงพอใจของผู้นำท้องที่ผู้นำท้องถิ่นและราษฎรในพื้นที่อย่างมาก .